บัวบก
ชื่ออื่น ผักแว่น (ใต้,จันทบุรี,ตะวันออก) ผักหนอก (เหนือ) ปะหนะเอขาเด๊าะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เตียฮักเช้าฮักคัก (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ต้น เป็นไม้ลมลุก ทอดเลี้อยไปตามดินที่แฉะขึ้นง่าย มีรากออกตามข้อชูใบ ตั้งตรงขึ้นมา
            ใบ เป็นใบเดียว มีก้านชูใบยาว ลักษณะใบเป็นรูปไต มีรอยเว้าลึกที่ฐานใบ ขอบใบมีรอยหยัก จะเป็นสามเหลี่ยม
            ดอก ดอกเป็นดอกช่อคล้ายร่มออกจากข้อมี ๒-๓ ข้อ ช่อละ ๓-๔ ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก ๕ กลีบ สีม่วงอมแดงโดยสลับกับเกสรตัวผู้
            ผล เล็กมากสีดำ แช่น้ำไม่ตาย ทนน้ำขัง
การใช้ประโยชน์
            ใช้เป็นอาหาร ทั้งต้น กินเป็นผักสด หรือ ลวกกินกับ ขนมจีน น้ำพริก นำมาเป็นผักเหมาะกินกับแกง นำมายำ ทำน้ำใบบัวบก
            คุณค่าทางโภชนาการ บัวบกมีน้ำมันหอมระเหยทุกส่วน สารที่มีรสขม มีสารไกลไซด์ มีวิตมินเอสูงมาก ธาตุแคลเซียมและสารอื่น ๆ
            ใช้เป็นยา ทั้งต้นนำมาต้มนำดื่ม แก้ฟกช้ำได้ ลดการอักเสบได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำตำพอกรักษาแผลสด ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ขับปัสสาวะ และทำครีมทาผิวหนังแก้อักเสบ
น้ำบัวบก
ส่วนผสม
ใบบัวบก                                                         ๒         ถ้วย
น้ำสะอาด                                                        ๒         ถ้วย
น้ำเชื่อม                                                                       ๑/๒     ถ้วย
น้ำแข็ง
วิธีทำ
            นำใบบัวบกที่สดๆ ใหม่ๆ ล้างน้ำสะอาดแช่ด่างทับทิม ๑๕-๒๐ นาที ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำพอควร กรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมพอหวาน ชิมรสดูตามใจชอบ จะได้น้ำใบบัวบกสีเขียวใสน่ารับประทาน เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด รสหอมหวานชื่นใจ ดื่มแล้วแก้อาการกระหายน้ำ